ความเป็นมาของสมาคม
การจัดการกีฬาแห่งประเทศไทย

จากจุดเริ่มต้นโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุพิตร สมาหิโต และ นายชัย นิมากร ได้มีส่วนร่วมในการประชุมคณะผู้ก่อตั้ง สมาคมการจัดการกีฬาแห่งเอเชีย (ASEAN Association for Sport Management: AASM) ใน ค.ศ.2001 (พ.ศ.2544) ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน โดยมีตัวแทนจาก 5 ประเทศ คือ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ไทย และไต้หวัน โดย รศ.ดร.สุพิตร สมาหิโต ได้รับตำแหน่ง Vice president ของ ASSM โดยทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนประเทศไทย ในการเข้าร่วมประจำปี และร่วมประชุมวิชาการนานาชาติเกี่ยวกับ Sport Management มาโดยตลอด

ในปี ค.ศ.2004 (พ.ศ.2547) ได้มีการประชุมวิชาการและการประชุมสามัญประจำปี AASM ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิลมณี ศรีบุญ ได้เข้าร่วมประชุมในฐานะตัวแทนจากประเทศไทยและในการประชุมครั้งนี้ และได้รับการเลือกตั้งให้เป็นคณะกรรมการบริหารของ AASM ณ มหาวิทยาลัยวาเซดะ (Waseda University) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิลมณี ศรีบุญ ได้เสนอตัวในการรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการของ AASM ซึ่งจะจัดขั้นในปี ค.ศ.2008 (พ.ศ.2551) ณ กรุงเทพมหานคร โดยในปี ค.ศ.2007 (พ.ศ.2550) ในระหว่างการประชุมวิชาการ 2007 FISU World Universiade Conference ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานครเพื่อปรึกษาหารือ ในการจัดประชุมวิชาการ 2008 ในปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2551 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมรับบทเป็นเจ้าภาพในการประชุมวิชาการดังกล่าว และเป็นการเริ่มต้นอย่างจริงจังของผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันการศึกษา และหน่วยงานกีฬาที่เกี่ยวข้องซึ่งมีส่วนในการผลักดันการพัฒนากำลังคนในสาขา

การจัดการกีฬาเพื่อรองรับความเจริญเติบโตในวงการกีฬา หลายฝ่ายเห็นด้วยกับการที่แผนพัฒนากีฬาแห่งชาติทั้ง 4 ฉบับ ได้บรรจุแผนพัฒนาในเรื่องการบริหารจัดการเอาไว้หลายฝ่ายยอมรับและเห็นด้วย คือ กีฬาของชาติจะเกิดความก้าวหน้าได้จะต้องอาศัยนักจัดการ การกีฬามืออาชีพอย่างแท้จริงและด้วยหลักการที่ว่า “ศาสตร์ทั้งหลายจะมีการพัฒนาจะเกิดการค้นพบองค์ความรู้ใหม่ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างแท้จริงนั้นจะต้องมีสมาคมวิชาชีพมารองรับ” ซึ่งในช่วงเริ่มต้นจัดตั้งสมาคมการจัดการกีฬาแห่งประเทศไทยนั้น ได้มีผู้ทรงคุณวุฒิร่วมกันให้ข้อมูลและดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ จนก่อตั้งสมาคมฯ แล้วเสร็จ โดยเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิในสถาบันการศึกษา โดยมีการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนสาขาการจัดการกีฬา ได้แก่ รศ.ดร. สุพิตร สมาหิโต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผศ.ดร. นิลมณี ศรีบุญ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ศ.ดร. สมบัติ กาญจนกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทย าลัย ผศ.ดร. สันติพงษ์ ปลั่งสุวรรณ มหาวิทยาลัยบูรพา ผศ.ดร. พันธ์วิรา ขวัญบูรณาจันทร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และดร. ปรางทิพย์ ยุวานนท์
จากการจัดตั้งสมาคมการจัดการกีฬา ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมได้อนุญาตให้สมาคมฯ ใช้สถานที่เป็นสำนักงานใหญ่ ณ ห้อง 15-0510 อาคารกาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และในปี พ.ศ.2556 – ปัจจุบัน ที่ทำการสมาคมฯ มาที่ ชั้น 22 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา การกีฬาแห่งประเทศไทย เลขที่ 286 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240
14 ปี ของการดำเนินงานของสมาคมการจัดการกีฬาแห่งประเทศไทยได้มีการดำเนินการ ตั้งแต่ ปีพ.ศ.2551-ปัจจุบัน(พ.ศ.2565) โดยมีการนำโดยนายกสมาคม ฯ ทั้งสิ้น 4 ท่าน (วาระละ 2 ปี) ดังนี้
นายกสมาคมฯ คนที่ 1 รศ. ดร. สุพิตร สมาหิโต (พ.ศ.2551-2555)
นายกสมาคมฯ คนที่ 2 ดร. ชัย นิมากร (พ.ศ.2556-2560)
นายกสมาคมฯ คนที่ 3 ผศ. ดร. สมทบ ฐิตะฐาน (พ.ศ.2561-2564)
นายกสมาคมฯ คนที่ 4 รศ. ดร. วรรณชลี โนริยา (พ.ศ.2565 เป็นต้นไป)
ในฐานะ นายกสมาคมการจัดการกีฬาของประเทศไทย คนที่ 4 ดำรงตำแหน่งระหว่าง (ปี พ.ศ. 2565-2567) สิ่งที่เป็นความท้าทายและเป็นเป้าหมายในการขับเคลื่อนภายใน 2 ปี ต่อจากนี้ไป มีทิศทางเพื่อนำพาสมาคมฯ “เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ด้านการจัดการกีฬาของประเทศไทย” โดยมี 3 พันธกิจ ดังนี้ (1) สร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนา อุตสาหกรรมการกีฬาสู่ความยั่งยืน (2) สร้างมูลค่าเพิ่มและผลักดันองค์ความรู้ด้านการจัดการกีฬาสู่สากล สู่สาธารณะทั้งในระดับชาติและนานาชาติ และ (3) มุ่งขับเคลื่อนและเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่บุคลากรอุตสาหกรรมการกีฬาไทย ส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะบุคลากร ในอุตสาหกรรมการกีฬา
สมาคมการจัดการกีฬาแห่งประเทศไทย “ภายใต้แนวคิด SMATX (สแมท เอกซ์)” มุ่งยกระดับการขับเคลื่อนสมาคม ฯ แบบองค์รวมพร้อมสร้าง กลไกการขับเคลื่อนแบบมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม อาทิ SMATX Uni การสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ กับเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ SMATX MOTS (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประเด็นการขับเคลื่อนแผนพัฒนากีฬาชาติฉบับที่ 7 และโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลสถิติการออกกำลังกาย(Calories Credit Challenge หรือ CCC )), SMATX SAT (การกีฬาแห่งประเทศไทย ประเด็นการส่งเสริมให้สมาคมกีฬามุ่งเน้นการจัดการแข่งขันกีฬาภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจใหม่ BCG Model), SMATX WISDOM อุตสาหกรรมการกีฬาของประเทศไทย) เพื่อพัฒนาศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถ และสามารถสร้างมูลค่าของอุตสาหกรรมการกีฬาของ ประเทศไทย โดยมีรายนามคณะกรรมการสมาคมการจัดการกีฬาดังนี้